วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

สงครามครูเสด

สงครามศาสนา
สงครามครูเสด
สงครามครูเสด คือ สงครามระหว่างศาสนา ซึ่งอาจหมายถึงสงครามระหว่างชาวคริสต์ต่างนิกายด้วยกันเอง หรือชาวคริสต์กับผู้นับถือศาสนาอื่นก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักหมายถึงสงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ ในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ส่วนมุสลิมเรียกสงครามครั้งนี้ว่า สงครามฟีสะบีลิ้ลลาฮ์ และดินแดนแห่งนี้ยังเป็นสถานที่สำคัญของสามศาสนาได้แก่ อิสลาม ยูได และ คริสต์ ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือ ประเทศอิสราเอล หรือ ปาเลสไตน์
สงครามครูเสดในมุมมองคริสต์ สงครามครูเสด คือ สงครามไม้กางเขนเดิมมาจากคำว่าครอสและเดิมทีดินแดนศักดิ์สิทธิ์ (เยรูซาเลม) นั้นเป็นของชาวคริสต์อยู่แล้ว แต่ถูกชาวมุสลิมรุกราน  ฝ่ายคริสต์มีการประกาศความชอบธรรมในการทำสงคราม และยังยกหนี้สินให้กับคนที่เข้าร่วมสงคราม และผู้นำศาสนายังประกาศว่าผู้ใดที่ร่วมรบจะได้ขึ้นสวรรค์
สงครามครูเสดในมุมมองมุสลิม สงครามครูเสด คือ การรุกรานของชาวคริสต์ที่กระทำต่อมุสลิม สาเหตุสงครามเกิดจากการที่ชาวคริสต์ไม่พอใจชาวมุสลิมที่ไม่ต้อนรับพวกตนในการเข้าไปแสวงบุญที่ เยรู-ซาเลม เป็นต้น  
สงครามครูเสดมีความหมายว่า เป็น การต่อสู้เพื่อความถูกต้องชอบธรรม เป็นความถูกต้องชอบธรรมตามหลักศรัทธาทางศาสนา เป็นสงครามที่ต่อสู้ความถูกต้องตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งชาวมุสลิมใช้คำว่า จิฮัดในภายหลังคำว่า สงครามครูเสดถูกนำไปใช้ในทำนอง การรณรงค์ต่อสู้เพื่อความชอบธรรมด้านต่างๆ เป็นสงครามศักดิ์สิทธิ์ตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ฆ่าคนนอกรีต-คนต่างศาสนา ไม่บาป แล้วยังได้ขึ้นสวรรค์สาเหตุของสงครามครูเสด สรุปได้ดังนี้
1.             สงครามครูเสดเป็นผลของความขัดแย้งกันเป็นเวลาช้านาน ระหว่างคริสตจักรทางภาคตะวันตกกับทางภาคตะวันออก ต่างฝ่ายต่างก็พยายามที่จะมีอำนาจเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง โดยนำเสนอความเป็นผู้นำในการรบเพื่อทวงคืนดินแดนศักดิ์สิทธิ และหยุดยั้งการแพร่ขยายของศาสนาอิสลามที่เป็นไปอย่างรวดเร็วจนก่อให้เกิดความหวาดกลัวขึ้นทั่วไปในหมู่ชาวคริสเตียนในยุโรป ด้วยเหตุดังกล่าว ในศตวรรษที่ 11 ชาวคริสเตียนจึงได้ส่งกองกำลังมาปะทะกับมุสลิม
2.             ความกระตือรือร้นในการแสวงบุญของชาวคริสเตียนยังนครเยรูซาเล็มมีมากกว่าที่เคยเป็นมา ในช่วงนั้น เยรูซาเล็มตกอยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิม ผู้แสวงบุญชาวคริสเตียนจึงมีความต้องการดินแดนเยรูซาเล็มเป็นของตนเอง เพื่อความสะดวกในการแสวงบุญมากยิ่งขึ้น
3.             ช่วงเวลาระหว่างนั้น เป็นระยะเวลาที่ระส่ำระสายอยู่ทั่วไปในยุโรป พวกเจ้าเมืองต่างๆ ต่างก็ต่อสู้ทำสงครามซึ่งกันและกัน พระสันตะปาปา  มีความเห็นว่า ถ้าปล่อยให้อยู่ในสภาพเช่นนี้จะทำให้ชาวคริสเตียนในยุโรปต้องอ่อนแอลง เขาจึงยุยง ปลุกระดมให้ประชาชนหันมาต่อสู้กับชาวมุสลิมแทนโดยอ้างว่าจะได้รับกุศลผลบุญ และเพื่อเอานครอันศักดิ์สิทธิ์ เยรูซาเล็มกลับคืนมา
4.             มุสลิมได้กลายเป็นมหาอำนาจทางการค้าแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา การค้าพาณิชย์ในทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนจึงตกอยู่ในความควบคุมของมุสลิมอย่างเต็มที่ ดังนั้นชาวคริสเตียนในยุโรปจึงต้องทำสงครามกับมุสลิมเพื่อหยุดยั้งความเจริญก้าวหน้าของมุสลิม
5.             สันตะปาปา เออร์แบนที่ 2 ประสงค์จะรวมคริสต์จักรของกรีกมาไว้ใต้อิทธิพลของท่านด้วย จึงได้เรียกประชุมชาวคริสเตียนที่เมืองเลอมองค์ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ.1095 และรบเร้าให้ชาวคริสเตียน ทำสงครามกับชาวมุสลิม ท่านได้สัญญาว่าผู้ที่เข้าร่วมในการต่อสู่จะได้รับการยกเว้นจากบาปที่เคยทำมา และผู้ที่ตายในสงครามก็จะได้ขึ้นสวรรค์ ภายในเวลาไม่นานก็รวบรวมคนได้ถึง 150,000 คน ส่วนมากเป็นชาวแฟรงค์ (Frank ) และนอร์แมน ( Norman ) คนเหล่านี้ได้มาชุมนุมกันที่เมืองเยรูซาเล็ม  
ประวัติสงครามครูเสดโดยย่อ
จุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด หลังจากที่พระเยซูคริสต์เสียชีวิตแล้ว แผ่นดินที่พระเยซูคริสต์มีชีวิตอยู่ ก็คือเมืองเบธเลเฮม เมืองนาซาเร็ธ และเมืองเยรูซาเล็มถูกเรียกว่าแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ชาวคริสเตียนจะเดินทางไปแสวงบุญที่เมืองเหล่านี้ อย่างไรก็ตามเมืองเหล่านี้บางเมืองก็เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของชาวมุสลิมด้วยเช่นกัน เมื่อพวกซัลจู๊ค(มุสลิม)เข้ามามีอำนาจ ได้ครอบครองซีเรียและเอเชียไมเนอร์ของไบแซนไทน์ ชัยชนะของซัลจู๊คในการยุทธที่มานซิเคอร์ทในปี ค.ศ.1071 นั้น เป็นการขับไล่อำนาจของไบแซนไทน์ออกจากเอเชียไมเนอร์ และอีกไม่กี่ปีต่อมาคือ ในปี ค.ศ. 1092 ซัลจู๊คก็ตีเมืองนิคาเอจากไบแซนไทน์ได้อีก ซึ่งทำให้จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ตื่นตระหนัก เพราะอิสลามกำลังเข้าใกล้กรุงคอนสแตนติโนเปิ้ลเข้าไปทุกที จักรพรรดิอเล็กซิอุส คอนเนนุส แห่งไบแซนไทน์ ได้ขอความช่วยเหลือไปยังโป๊ปเกรกอรีที่ 7 แห่งกรุงโรม ให้ชาวคริสเตียนปราบเติร์ก ซึ่งสันตะปาปาก็ตอบรับการขอความช่วยเหลือ เพราะนั่นเท่ากับว่าจักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์เป็นผู้นำของศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์ยอมรับอำนาจของสันตะปาปา ซึ่งเป็นผู้นำของนิกายโรมันคาทอลิกโดยสิ้นเชิง พระสันตะปาปาได้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด
หากเราพิจารณาในวงแคบลงมาแล้ว ในความรู้สึกของชาวยุโรปนั้น ตนถูกรุกรานจากพวกตะวันออกคือโลกมุสลิมมาโดยตลอด นับตั้งแต่ ค.ศ. 632 เป็นต้นมา อิสลามได้ขยายอำนาจของตนเข้าไปในเขตแดนที่ตะวันตกเคยมีอำนาจ เช่น ซีเรีย อียิปต์ แอฟริกาเหนือ ตลอดจนคาบสมุทรไอบีเรีย ( สเปน และโปรตุเกส ) ซ้ำยังคุกคามจักรวรรดินิยมที่ยิ่งใหญ่ในโลกตะวันตกคือไบแซนไทน์ และสร้างความสั่นสะเทือนให้แก่สถาบันที่เป็นหัวใจของวัฒนธรรมตะวันตกและคริสต์ศาสนา นั่นก็คือกรุงโรม โดยมุสลิมสามารถยึดครอบครองบางส่วนของอิตาลี ตลอดสมัยนี้การค้ากับตะวันออก ตกอยู่ในมือของอิสลาม สงครามครูเสดจึงเป็นความพยายามของชาวตะวันตกที่จะล้มอำนาจของตะวันออกที่เป็นมุสลิมหลังจากที่แพ้มาโดยตลอด
แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางฝ่าอันตรายไปยังโลกอิสลาม คือ กษัตริย์ฝรั่งเศสและเยอรมันต้องการดินแดนเพิ่ม บรรดาอัศวินและขุนนางต้องการผจญภัยแสดงความกล้าหาญตามอุดมคติของอัศวินที่ดี พวกทาสต้องการเป็นอิสระ เสรีชนต้องการความร่ำรวยและแสดงความศรัทธาต่อศาสนารวมทั้งความพยายามของ พระสันตะปาปาในอันที่จะรวมคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกซ์ให้เข้ากับนิกายโรมันคาทอลิก ภายใต้การบังคับบัญชาของตนแต่เพียงผู้เดียว ประกอบกับสมัยนั้นอำนาจของอิสลามเองก็ได้อ่อนแอลงเนื่องจากความแตกแยกภายใน คือ ภายหลังที่ซัลจู๊คเสื่อมอำนาจลง โลกอิสลามได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย ปราศจากศูนย์กลางอีกครั้ง คอลีฟะฮฺแห่งฟาฏีมียะฮฺเองก็ตกอยู่ในสภาพที่อ่อนแอและพยายามจำกัดอำนาจของตนอยู่เฉพาะในอียิปต์เท่านั้น
พระสันตะปาปาได้ทำการเรียกร้องให้ทำสงครามครูเสด กล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องทำเพราะเป็นคำสั่งของพระเจ้า แต่ทว่าเกรกกอรีที่ 7 ได้เสียชีวิตลงเสียก่อนที่จะปฏิบัติตามสัญญาในปี ค.ศ.1095 จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ได้ขอร้องทำนองเดียวไปยังพระสันตะปาปาคนใหม่ คือ เออร์บานที่ 2 ซึ่งพระสันตะปาปาคนนี้ก็ได้ตอบรับการเรียกร้องทันที พระสันตะปาปาได้จัดประชุมกันที่เคลมองต์ ( Clerment ) ในประเทศฝรั่งเศส เรียกร้องให้ประชาชนทำสงครามครูเสดเพื่อกอบกู้สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ คือ กรุงเยรูซาเล็มคืนจากอิสลาม..คำปราศรัยของพระสันตะปาปามีใจความว่า
ด้วยบัญชาของพระเจ้า ให้เจ้าหยุดยั้งการทำสงครามกันเอง และให้เขาเหล่านั้นหันมาถืออาวุธมุ่งหน้าไปทำลายผู้ปฏิเสธ ( มุสลิม )
ปรากฏว่าพระสันตะปาปารวบรวมคนได้ถึง 150,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวฝรั่งเศสไปร่วมทำสงครามครูเสด จะเห็นว่าในบรรดาชายชาวยุโรปที่กระเหี้ยนกระหือรือในการทำสงครามครูเสดมากที่สุดก็เห็นจะได้แก่ ชาวฝรั่งเศส ดังนั้น การจัดตั้งรัฐต่างๆในตะวันออกกลางภายหลังที่พวกครูเสดสามารถปกครองดินแดนนี้จึงเป็นรัฐของฝรั่งเศส บาทหลวง บรรดาเจ้าชาย อัศวิน และนักรบล้วนแต่เป็นชาวฝรั่งเศสเสียส่วนใหญ่
ในขณะที่ทัพครูเสดกำลังจะยกมารบกับอิสลาม ก็ได้มีกองทัพของประชาชนผู้มีศรัทธาแรงกล้าเดินทัพมาก่อนแล้วในปี ค.ศ.1094 ตามคำชักชวนของ ปีเตอร์ นักพรต ( Peter of Amines ) เขาผู้นี้ได้เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วยุโรป เพื่อป่าวประกาศเรื่องราวการกดขี่ของชาวเติร์กต่อชาวคริสเตียนในปาเลสไตน์ ซึ่งหาได้เป็นความจริงไม่ กล่าวได้ว่ากองทัพนี้เป็นกองทัพของประชาชนมากกว่ากองทัพของทหารที่จะไปทำสงคราม เพราะมีผู้นำที่เป็นบาทหลวงและสามัญชนธรรมดาปราศจากความรู้ในการรบ และมิได้มีอาวุธที่ครบครัน ปรากฏว่ากองทัพนี้ส่วนใหญ่มาถึงเพียงฮังการี เพราะเมื่อขาดอาหารลงก็จะทำการปล้นสะดม จึงถูกประชาชนแถบนั้นต่อต้าน และส่วนใหญ่จะตายเสียตามทาง ที่เหลือรอดมาซึ่งมีจำนวนเล็กน้อย เมื่อเผชิญกับพวกซัลจู๊คจึงถูกตีแตกพ่ายกลับไป สงครามครั้งนี้มิได้ก่อให้เกิดผลสะท้อนใดๆ นอกจากจะกระตุ้นให้ชาวยุโรปมีความเกลียดชังมุสลิมมากขึ้นไปอีก
สงครามครูเสดเพื่อยึดครองแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ เกิดขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ.1096 โดยมีอัศวินประมาณ 50,000 คนเข้าร่วม ส่วนใหญ่มาจากฝรั่งเศส เส้นทางที่ทหารครูเสดจะต้องเดินทางมานั้นมีระยะทาง 2,000 ไมล์ ทหารครูเสดที่มาในครั้งนั้นอยู่ภายใต้การนำของ โรเบิร์ต แห่งนอร์มังดี ทหารบางคนเข้าร่วมสงครามครั้งนี้ด้วยเหตุผลทางศาสนา บางคนเข้าร่วมเพราะต้องการผจญภัยหรือแสวงโชค ใน ค.ศ.1099 ทหารครูเสดได้มาถึงด้านนอกกำแพงเมืองเยรูซาเล็ม ฝ่ายมุสลิม (ซึ่งพวกทหารครูเสดเรียกว่า ซาราเซ็น ) ได้ต่อสู้ป้องกันอย่างเข้มแข็ง ทหารครูเสดปิดล้อมเมืองอยู่เดือนกว่าจึงฝ่ากำแพงเข้าไปได้และเมื่อเข้าเมืองได้ ทหารคริสเตียนก็ฆ่ามุสลิมทุกคนที่พวกเขาพบ เพราะทหารคริสเตียนถือว่า ชาวมุสลิมทุกคนคือผู้ไม่ศรัทธาในเมืองศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า
ใน ค.ศ. 1144 มุสลิมยึดเมืองอีเดสซากลับคืนมาได้ สงครามครูเสดครั้งที่สองเกิดขึ้นเพราะพวกยุโรปต้องการที่จะยึดเยรูซาเล็มกลับคืนมา แต่ต้องประสบความล้มเหลว ต่อมาใน ค.ศ.1187 ผู้นำมุสลิมคนใหม่คือ เศาะลาฮุดดีน (ซาลาดิน) ได้โจมตีอาณาจักรของคริสเตียนโดยเริ่มจากสงครามฮิตตินก่อน หลังจากนั้นก็เข้าไปยึดเมืองเยรูซาเล็มกลับคืนมาได้ ทหารมุสลิมต้องการที่จะประหารชาวคริสเตียนทั้งหมดที่อยู่ในเมือง แต่ซาลาดินไม่อนุญาต สงครามครูเสดครั้งที่สามเกิดขึ้น เพราะคริสต์จักรความต้องการที่จะขับไล่ซาลาดินออกจากแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์         หนึ่งในบรรดาแม่ทัพที่นำทหารครูเสดมาในครั้งนั้นคือ กษัตริย์ริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษหรือที่รู้จักกันดีว่า ริชาร์ดใจสิงห์ได้ทำสงครามกับซาลาดินสงครามนองเลือดจึงเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ทหารของซาลาดินเข้มแข็งกว่า ดังนั้น สิ่งที่กษัตริย์ริชาร์ดทำได้ ก็คือการทำสัญญากับ ซาลาดินใน ค.ศ.1192 สัญญานี้ระบุว่าทำพวกคริสเตียนอาศัยอยู่ในเมืองต่าง ๆ ได้ เช่น เมืองอัครา บนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และไปเยี่ยมแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ได้ หลังจากนั้นอีกหนึ่งศตวรรษ มุสลิมก็สามารถยึดเมืองคริสเตียนต่าง ๆ กลับคืนมาได้ กองทหารครูเสดได้ถูกส่งมาช่วยเมืองเหล่านี้หลายครั้ง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ  
บทสรุปสงครามครูเสด
สงครามครูเสด มีการทำสงครามกัน 8 ครั้ง กินระยะเวลานานกว่า 200 ปี มีผู้คนล้มตายกว่า 7,000,000 คน และสุดท้ายดินแดนศักดิ์สิทธิตกเป็นของมุสลิม บทสรุปการทำสงครามแต่ละครั้งมีดังนี้
  • ครั้งที่ 1 ตั้งแต่เมื่อ ค.ศ. 1092 ถึง ค.ศ. 1099 เป็นครั้งที่ครึกครื้นที่สุด พระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ได้ไปในครั้งนี้ และเป็นครั้งเดียวที่เอาชนะพวกเติร์กเปิดทางให้คริสต์ศาสนิกชนไปนมัสการที่ฝังศพพระเยซูได้สะดวก
  • ครั้งที่ 2 ตั้งแต่ ค.ศ. 1147 ถึง ค.ศ. 1149 พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ของฝรั่งเศส กับ พระเจ้าคอนราดที่ 3 ของเยอรมัน ได้ไปในครั้งนี้ แต่ต้องแพ้ย่อยยับกลับมา
  • ครั้งที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1189 ถึง ค.ศ. 1192 พระเจ้าเฟรเดริกที่ 1 (เยอรมัน) ฟิลิปป์ออกุสต์ (ฝรั่งเศส) และริชาร์ด ไลออนอาร์ท (อังกฤษ) ได้ไปในครั้งนี้ พากันแพ้กลับมา และพระเจ้าเฟรเดริกจมน้ำตาย
  • ครั้งที่ 4 ตั้งแต่ ค.ศ. 1202 ถึง ค.ศ. 1204 ไม่ได้ผลอะไรเลย และแทนที่กองทัพครูเสดจะไปรบพวก เติร์กกลับไปรบพวกคริสเตียนด้วยกันเอง
  • ครั้งที่ 5 ตั้งแต่ ค.ศ. 1217 ถึง ค.ศ. 1221 เซนเญอร์ของฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ ยองเลอเบรียน กับพระเจ้าแผ่นดินฮังการี ไปรบพวกเติร์กในประเทศอียิปต์ และไม่ได้ผลทางชัยชนะ
  • ครั้งที่ 6 ตั้งแต่ ค.ศ. 1228 ถึง ค.ศ. 1229 พระเจ้าเฟรเดริกที่ 2 (เยอรมัน) เป็นหัวหน้าไป แต่แทนที่จะไปรบ กลับไปทำไมตรีกับพวกอาหรับ ซึ่งมีผลดีกว่าไปรบ เพราะทำให้พวกอาหรับยอมให้พวกคริสเตียนเดินทางเข้าเมืองเยรูซาเลมได้อีก
  • ครั้งที่ 7 ตั้งแต่ ค.ศ. 1248 ถึง ค.ศ. 1249 ครั้งที่ 8 ใน ค.ศ. 1270 นั้น สงครามครูเสดได้ทำกันในประเทศอียิปต์ เพราะพวกหัวหน้าเติร์กมีถิ่นสำคัญตั้งอยู่ที่นั่น และแซงต์หลุยส์ (ฝรั่งเศส) เป็นตัวตั้งในสงครามครูเสดทั้งสองครั้งนี้ จนแซงหลุยส์สิ้นพระชนม์เมื่อ ค.ศ. 1270และ สงครามครูเสดก็สุดสิ้นลงในครั้งนี้
สงครามครูเสดทำให้เกิดผลลัพธ์ทางอ้อมหลายประการด้วยกันคือ
หลังจากนั้น พวกคริสเตียนได้ครองแผ่นดินที่พวกตนยึดครองได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรแห่งเยรูซาเล็ม บางเมืองมีอายุยืนยาวกว่า 200 ปี การเข้ามาอยู่ในดินแดนที่มีมุสลิมอาศัยอยู่โดยรอบทำให้พวกคริสเตียนและมุสลิมเกิดการรวมวัฒนธรรมกัน พวกคริสต์-เตียนประทับใจในศิลปะการตกแต่งของมุสลิม เช่น พรม เครื่องใช้และกระเบื้องเคลือบ และพวกเขายังได้กินอาหารรสชาติใหม่ ๆ เช่น ผลแอปริคอท มะเดื่อ น้ำตาลและมะนาว ทางด้านเครื่องแต่งกายชาวคริสเตียนได้เรียนรู้การใช้ผ้าฝ้ายและผ้าไหมทำเสื้อผ้า ทางด้านสถาปัตยกรรม พวกคริสเตียนได้เรียนรู้เรื่องการใช้เสาและคานรูปโค้งแบกรับน้ำหนักจากสิ่งที่ปลูกสร้างของมุสลิม นอกจากนี้แล้ว พวกคริสเตียนยังได้เรียนรู้ถึงวิธีการป้องกันปราสาทโดยการใช้หอคอยทรงกลม และช่องทางเดินบนกำแพงที่ทำให้คนที่อยู่ข้างบนสามารถยิงธนูหรือโยนหินเข้าใส่ผู้เข้ามาโจมตีได้ ส่วนพวกมุสลิมนั้นไม่ได้อะไรจากพวกคริสเตียนมากนักนอกจากการค้าที่เพิ่มขึ้นกับอิตาลี อาวุธที่ดีขึ้น และการสำรวจพื้นที่เพื่อทำการสงคราม
ที่มาwww.baanjomyut.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น