วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

การใช้แผนที่

ความหมายแผนที่
แผนที่คือแปลนของแผ่นดินรอบตัวเราแผนที่ให้ข้อมูลแก่เราหลายอย่าง แผนที่อาจแสดงถนนในเมืองหรือหมู่บ้านและชนบท แผนที่ขนาดเล็กมักแสดงประเทศ ทวีป หรือโลกในภาพรวม
ซีกโลกตะวันตก
ซีกโลกตะวันออก
ซีกโลกเหนือ
ซีกโลกใต้

ลองวัดระยะใด ๆ ก็ได้บนแผนที่และเปรียบเทียบกับมาตราส่วนที่กำกับไว้ว่า 1 : 50,000หมายความว่า 1 เซนติเมตร บนแผนที่จะเท่ากับ 50,000 เซนติเมตร (0.5 กิโลเมตร) บนผิวโลก แผนที่ทางการเมืองแสดงประเทศหรือรัฐและเส้นแบ่งเขตแดน แผนที่ทางกายภาพ แสดงภูเขา ที่ราบ แม่น้ำ ทะเลทราย และป่าไม้ เราอาจใช้แผนที่แสดงภูมิศาสตร์ การเพาะปลูก ภูมิอากาศ ประชากร หรือ ทรัพยากรธรรมชาติ และแสดงสัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะบนแผนที่
วิธีใช้แผนที่
แอตลาส (Atlas) คือหนังสือแผนที่ แผนที่ให้ข้อมูลแก่เราหลายอย่างโดยใช้สี สัญลักษณ์ และเส้น ซึ่งจะบอกความหมายต่างๆ ไว้ มาตราส่วนที่กำกับจะช่วยให้หาระยะทางที่ปรากฏบนแผนที่ที่สัมพันธ์กับระยะทางจริง

แผนที่อาจแสดงให้เราทราบลักษณะของแผ่นดิน รวมทั้งภูเขาและหุบเขา แม่น้ำ ทะเลสาบ และชายฝั่งทะเล ทะเลที่อยู่ใกล้เคียงและมหาสมุทร แผนที่ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศ โดยแสดงพื้นที่ที่เป็นทะเลทรายแห้งแล้ง และเป็นป่าเขตร้อน เราจะหาชื่อของทวีป ประเทศ ภูมิภาค และเขตบริหารได้ เช่น รัฐ จังหวัด มณฑล นอกจากนี้ยังบอกชื่อนครและเมืองสำคัญๆ รวมถึงเมืองหลวงด้วย



ระบบ GPS สำรวจพื้นโลกจากดาวเทียม
กระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ดํ าเนินการโครงการ Global Positioning System หรือ "GPS" ขึ้น ซึ่ง GPS จะใช้ดาวเทียมจํานวน 24 ดวง โคจรอยู่ในระดับสูงที่พ้นจากคลื่นวิทยุรบกวนของโลกและวิธีการที่สามารถให้ความถูกต้อง เพียงพอที่จะใช้ชี้บอกตําแหน่งได้ทุกแห่งบนโลกตลอดเวลา 24 ชั่วโมง 
ปัจจุบันมีการนํา GPS มาใช้งานในหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานสํารวจ อาทิเช่น ภูมิศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช ?GPS ในการสํารวจภูมิประเทศ เพื่อทําแผนที่ด้วย ซึ่งการประยุกต์ใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศในส่วนการศึกษาตัวเมือง ภาพถ่ายดาวเทียมถูกนำมาใช้ในการศึกษาพื้นที่ในระดับจังหวัด ระดับภาคหรือระดับประเทศ ใช้ทำแผนที่แสดงอาคารในพื้นที่ชุมชนในอนาคต และพัฒนาการสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำแผนที่ รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลทางกายภาพของพื้นที่ศึกษา ประกอบกับเทคโนโลยีการสำรวจรังวัดดาวเทียมระบบ GPS (Gobol Positioning System)
ที่มา:www.natty/map/gps_map.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น