วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สงครามเย็น

สงครามเย็น
สงครามเย็น (ค.ศ. 1945- 1991) คือสงครามที่มหาอำนาจ 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายโลกเสรี นำโดย สหรัฐอเมริกา และฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ นำโดย สหภาพโซเวียต ต่อสู้กันด้วยจิตวิทยา เนื่องจากอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน  โดยทั้ง 2 ประเทศมหาอำนาจ แข่งขันกันหาพันธมิตรร่วมอุดมการณ์ การสะสมอาวุธ การแสวงหาความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี และด้านเศรษฐกิจ แม้ทั้ง 2 ประเทศจะไม่ได้ทำสงครามที่สู้รบกันโดยใช้อาวุธขึ้น แต่ก็เกิดสงครามตัวแทนขึ้น อย่างเช่น สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม ภายหลังสงครามเย็นจบลง พร้อมกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ. 1991

ชนวนของสงคราม
หลังจากที่โลกกำลังฉลองจากสันติภาพที่มาถึง หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จบไปในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 กลิ่นอายของดินปืนยังไม่ทันจางหาย กลิ่นอายของสงครามครั้งใหม่ก็เริ่มก่อตัวขึ้น
โจเซฟ สตาลิน ผู้นำสหภาพโซเวียต (ค.ศ.1922 – 1953)
โจเซฟ สตาลิน ผู้นำของสหภาพโซเวียต มีความเห็นว่า ลัทธิทุนนิยมของโลกตะวันตกเป็นระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพ และมักแก้ไขปัญหาด้วยการทำสงคราม สตาลิน จึงให้โซเวียตมีกองทัพที่ใหญ่โตต่อไป แม้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 จะจบลงไปแล้วก็ตาม และยังสนับสนุนให้นักวิทยาศาสตร์วิจัยและพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์และขีปนาวุธอย่างเร่งด่วนเพื่อหวังให้โซเวียตมีกำลังทางการทหารแข็งแกร่งที่สุดในโลก

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียต ได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในยุโรป จนกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกกลายเป็นกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์
 สหรัฐฯ เริ่มรับรู้ถึงทรรศนะของโซเวียต
ค.ศ. 1946 เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในกรีก ระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ และฝ่ายที่สนับสนุนสถาบันกษัตริย์
 แฮร์รี เอส. ทรูแมน ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ในขณะนั้น ตัดสินใจให้การช่วยเหลือรัฐบาลกรีก ทั้งการทหาร และเศรษฐกิจ ทำให้คอมมิวนิสต์ไม่สามารถยึดครองประเทศกรีกได้ และในตุรกีเองก็เช่นกัน ภายหลังสหรัฐฯ จึงใช้ แผนการมาร์แชลเพื่อช่วยเหลือประเทศในแถบยุโรป ในรูปของเงินดอลลาร์ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ
 โซเวียต และกลุ่มประเทศบริวาร ไม่ยอมรับการช่วยเหลือ ของสหรัฐฯ ตามแผนการมาร์แชล และยังตอบโต้ด้วย แผนการโมโลตอฟหรือ แผนการโคมีคอนซึ่งจะให้การช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจต่อประเทศบริวาร และประเทศที่ไม่มีข้อผูกมัดกับประเทศใด หรืออีกนัยนึงคือประเทศที่ไม่ยอมรับการช่วยเหลือของสหรัฐฯ ทำให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปแบ่งแยกเป็น 2 แนวทาง และทำให้ สงครามเย็นที่มี สหภาพโซเวียต เป็นผู้นำฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ และสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำฝ่ายโลกเสรี เริ่มปรากฏให้เห็นเด่นชัดขึ้น
 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ได้มีการก่อตั้ง องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือ นาโต้ขึ้น โดยประกอบไปด้วย สมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ หนึ่งในนั้นคือ สหรัฐอเมริกา

ธงนาโต้
ภายหลังโซเวียตได้ตอบโต้ด้วยการรื้อฟื้นองค์การ โคมินเทิร์นหรือ คอมมิวนิสต์สากลสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มาเป็นองค์การ โคมินฟอร์มเพื่อต่อต้าน จักรวรรดินิยมอเมริกา
 โซเวียตได้กล่าวหาว่า องค์การนาโต้มิได้จัดตั้งมาเพื่อป้องกัน แต่เพื่อเตรียมก่อการสงครามขึ้นใหม่และได้จัดตั้ง สนธิสัญญาวอร์ซอหรือ กติกาวอร์ซอขึ้น เพื่อตอบโต้ นาโต้

14 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สหภาพโซเวียตจัดตั้ง สนธิสัญญาวอร์ซอเพื่อป้องกันประเทศในกลุ่มของสหภาพโซเวียต โดยมี เยอรมนีตะวันออก โปแลนด์ เชโกสโลวะเกีย ฮังการี บัลแกเรีย โรมาเนีย และแอลเบเนีย เป็นสมาชิก
 สงครามแผ่ขยายมายังเอเชีย
จีน
ในขณะนั้นประเทศจีนได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ระหว่าง รัฐบาลคณะชาติ ซึ่งนำโดย เจียงไคเชค และ พรรคคอมมิวนิสต์ ของเหมาเจ๋อตง ภายหลังการต่อสู้ ในปี ค.ศ. 1949 เจียงไคเชค และคณะ ต้องหนีไปตั้งรัฐบาลขึ้นที่เกาะไต้หวัน และเหมาเจ๋อตง ได้ครองครองแผ่นดินใหญ่ของจีน และได้ประกาศจัดตั้งเป็นประเทศจีนเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์
 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ก่อตั้งอย่างเป็นทางการ ภายใต้การนำของ เหมาเจ๋อตุง
 เกาหลี
ประเทศเกาหลีได้ถูกญี่ปุ่นเข้าไปยึดครอง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1910  จนถึงช่วงที่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี ค.ศ. 1945 กองทัพทหารของสหรัฐฯ ได้เข้าปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นตั้งแต่เส้นขนานที่ 38 องศาเหนือลงมา ส่วนบริเวณที่อยู่เหนือเส้นขนานที่ 38 องศาเหนือขึ้นไปอยู่ภายใต้การควบคุมของสหภาพโซเวียต เกาหลีจึงถูกแบ่งเป็น 2 ประเทศ และ 2 อุดมการณ์ทางการเมือง โดยเกาหลีเหนือ ภายใต้การควบคุมของสหภาพโซเวียต เป็นคอมมิวนิสต์ และเกาหลีใต้ ภายใต้การควบคุมของสหรัฐฯ เป็นประชาธิปไตย เกาหลีในขณะนั้น จึงเปรียบเสมือนสนามรบของสงครามเย็น
25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 เกาหลีเหนือบุกเกาหลีใต้ และสามารถเข้ายึดกรุงโซลได้สำเร็จในเวลาเพียงไม่กี่วัน
 28 มิถุนายน ค.ศ. 1950 เกาหลีเหนือยึดกรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ได้สำเร็จ
 ภายหลังสหประชาชาติได้ยกกองกำลังเข้าช่วยเหลือเกาหลีใต้ จนสามารถผลักดันกองทหารของเกาหลีเหนือถอยร่นจนไปถึงเส้นขนานที่ 38 ได้ และสามารถผลักดันจนไปถึงชายแดนของประเทศจีนได้ ภายหลังจีนได้ส่งกองทัพอาสาสมัคร เข้าช่วยเหลือเกาหลีเหนือ และสามารถทำให้กองกำลังสหประชาชาติถอยร่นกลับมายังเส้นขนานที่ 38 ได้ ภายหลังสหรัฐฯ ได้เสนอการหยุดยิง สงครามตัวแทน สงครามเย็นจึงได้ยุติลง27 กรกฎาคม ค.ศ. 1953 สงครามเกาหลียุติ
 อินโดจีน
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ฝรั่งเศสได้ทำสงครามกับกองทัพคอมมิวนิสต์ของโฮจิมินห์ ทางเหนือของเวียดนาม เพื่อเอาอาณานิคมเดิมของฝรั่งเศสกลับคืน โดยกองทัพคอมมิวนิสต์ของโฮจิมินห์ ได้รับการช่วยเหลือจากจีน ส่วนฝรั่งเศสได้รับการช่วยเหลือจากสหรัฐฯ สงครามครั้งนี้ จึงเปรียบเสมือนตัวแทนของ สงครามเย็นอีกครั้งหนึ่ง ภายหลังสงครามจบลง พร้อมกับความปราชัยของสหรัฐฯ
 สงครามเย็นยุติ
5 มีนาคม ค.ศ. 1953 โจเซฟ สตาลิน เสียชีวิต
นิกิต้า ครุปชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1953-1964) ต่อจากยุคของ โจเซฟ สตาลิน
ภายหลังการตายของ โจเซฟ สตาลิน ผู้นำพาความยิ่งใหญ่มาสู่สหภาพโซเวียต นิกิต้า ครุสชอฟ ได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำสหภาพโซเวียต ต่อจาก สตาลิน
 ปี ค.ศ. 1959 ได้เกิดการปฎิวัติคิวบาขึ้น โดย ฟิเดล คาสโตร เข้ายึดอำนาจจากประธานาธิบดี ฟุลเฮนซิโอ บาติสตา ภายหลังจากการเข้ายึดอำนาจ ฟิเดล คาสโตร ได้โอนที่ดินที่เป็นของรัฐและยึดทรัพย์สินของอเมริกาโดยไม่มีการชดเชยให้ สหรัฐฯ จึงไม่ยอมซื้อสินค้าจากคิวบา เป็นเหตุให้ ฟิเดล คาสโตร หันไปขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต
 14 ตุลาคม ค.ศ. 1962 สหรัฐฯ ตรวจพบฐานยิงจรวดบนเกาะคิวบา จอห์น เอฟ เคนเนดี้ ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ในขณะนั้น ได้มีคำสั่งให้ปิดล้อมคิวบาทางทะเล เพื่อกันไม่ให้โซเวียตขนอาวุธมายังคิวบา แล้วให้โซเวียตถอนจรวดออกไป กิต้า ครุสชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียตในขณะนั้น ได้ปฎิเสธคำเรียกร้องของสหรัฐฯ แล้วประกาศว่าเรือสินค้าของโซเวียตจะต้องเดินทางไปถึงคิวบา สหรัฐฯ จึงได้เตรียมจรวดพร้อมยิงถล่มโซเวียต สงครามโลกครั้งที่ 3 เกือบจะอุบัติขึ้น หากไม่มีการเจรจาตกลงกัน ระหว่างสหภาพโซเวียต และสหรัฐฯ ภายหลังสหภาพโซเวียตได้มีคำสั่งให้เรือสินค้าเดินทางกลับ และรื้อถอนฐานยิงจรวดบนเกาะคิวบา แต่สหรัฐฯ ต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคิวบา ต่อมา สหรัฐฯ สหภาพโซเวียต และอังกฤษ ได้ลงนามใน สัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์

ค.ศ. 1987  มิคาอิล กอร์บาชอฟ ผู้นำของสหภาพโซเวียตในขณะนั้น ได้เสนอแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจ และสังคมของโซเวียตให้มีรูปแบบเศรษฐกิจทุนนิยมของตะวันตก

ผลจากการปฏิรูปดังกล่าว ทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลายไปในปี ค.ศ. 1991 พร้อมกับการอวสานของสงครามเย็น สงครามที่เกือบจะขยายตัวเป็นสงครามโลกครั้งที่ 3 หรือ สงครามนิวเคลียร์
     ที่มา:www.sites.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น